ยินดีต้อนรับสู่บล็อก ครูพินิต แก้วพระ แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การถอดประกอบชุดบน Honda Click

การถอดประกอบชุดบน Honda Click
ที่มา : บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า  จำกัด

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ถอดประกอบชุดบนเครื่องยนต์ Honda Wave 125

การถอดประกอบชุดบนเครื่องยนต์ Honda Wave 125
ที่มา : บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า  จำกัด

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รหัสปัญหาข้อขัดข้องระบบฉีดเชื้อเพลิง DCP-FI


รหัสปัญหาข้อขัดข้องระบบฉีดเชื้อเพลิง DCP-FI

รหัส  12  ตรวจสอบตัวตรวจจับองศาเพลาข้อเหวี่ยง
รหัส  13  ตรวจสอบตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี
รหัส  14  ตรวจสอบตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง
รหัส  15  ตรวจสอบตัวตรวจจับอุณหภูมิเครื่องยนต์
รหัส  21  ตรวจสอบตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศในท่อไอดี
รหัส  23  ตรวจสอบตัวตรวจจับความเอียงของรถ
รหัส  24  ตรวจสอบคอยล์จุดระเบิด
รหัส  32  ตรวจสอบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
รหัส  40  ตรวจสอบลิ้นควบคุมอากาศรอบเดินเบา
รหัส  44  ตรวจสอบตัวตรวจจับออกซิเจน

ระบบฉีดเชื้อเพลิง DCP-FI


ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ DCP-FI

        ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ DCP-FI  เป็นระบบฉีดเชื้อเพลิงที่ไม่มีปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง  โดยหัวฉีดจะเป็นปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในตัว  ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันเชื้อเพลิงและทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าท่อไอดี

รหัสปัญหาข้อขัดข้องระบบฉีดเชื้อเพลิง YMJET-FI


รหัสปัญหาข้อขัดข้องระบบฉีดเชื้อเพลิง YMJET-FI
รหัส  12  ตรวจสอบตัวตรวจจับองศาเพลาข้อเหวี่ยง
รหัส  13  ตรวจสอบตัวตรวจจับความดันอากาศในท่อไอดี
รหัส  14  ตรวจสอบท่อแรงดันอากาศตัวตรวจจับความดัน
รหัส  15  ตรวจสอบตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง
รหัส  16  ตรวจสอบตัวตรวจจับตำแหน่ง (ลิ้นเร่งติดขัด)
รหัส  22  ตรวจสอบตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศในท่อไอดี
รหัส  24  ตรวจสอบตัวตรวจจับออกซิเจน
รหัส  28  ตรวจสอบตัวตรวจจับอุณหภูมิเครื่องยนต์
รหัส  30  ตรวจสอบตัวตรวจจับมุมเอียงของรถ (ไม่ส่งสัญญาณไปยังกล่อง ECM)
รหัส  33  ตรวจสอบขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิด
รหัส  37  ตรวจสอบ  ISC หรือ ลิ้นเร่ง
รหัส  39  ตรวจสอบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
รหัส  41  ตรวจสอบตัวตรวจจับมุมเอียงของรถ
รหัส  42  ตรวจสอบตัวตรวจจับความเร็วรถ
รหัส  44  ตรวจสอบกล่อง ECM
รหัส  46  ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
รหัส  50  ตรวจสอบหน่วยความจำของกล่อง ECM
รหัส  61  ตรวจสอบลิ้นควบคุมอากาศรอบเดินเบา

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI

ระบบฉีดเชื้อเพลิง PGM-FI

      เป็นระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่ในรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ Honda เป็นระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่เข้ามาแทนระบบบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ โดยเริ่มต้นจากระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์PGM-FI Version 1 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ Version 2 Version 3 และ Version 4 

ส่วนประกอบระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI ประกอบด้วย

1. ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel Pump)
2. หัวฉีด(Injector)
3. กล่องควบคุม(ECM)
4. เรือนลิ้นเร่ง
5. หลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์(FI-Indicator)
6. ตัวตรวจจับ (Sensor) ต่าง ๆ ดังนี้
    6.1 ตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี(MAT Sensor)
    6.2 ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศ(IAT Sensor)
    6.3 ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง(TP Sensor)
    6.4 ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง(EOT Sensor)หรืออุณหภูมิน้ำหล่อเย็น(ECT Sensor)
    6.5 ตัวตรวจจับความเร็วรอบเครื่องยนต์(CKP Sensor)
    6.6 ตัวตรวจจับออกซิเจน(O2 Sensor)
    6.7 ตัวตรวจจับการเอียงของรถ
    6.8 ตัวตรวจจับความเร็วของรถ (VS Sensor)




การอ่านรหัสปัญหาระบบ PGM-FI

การอ่านรหัสปัญหาข้อขัดข้องของระบบ PGM-FI
การอ่านรหัสปัญหาข้อขัดข้องระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์  PGM-FI  แบ่งออกเป็น 2 รหัส คือ
1.รหัสเดี่ยว  เป็นการแสดงรหัสข้อขัดข้องของระบบ PGM-FI  แบบ  1 สัญญาณ ซึ่งหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบสั่นโดยหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะสว่างขึ้น  0.3 วินาที และหลอดไฟจะดับลง  0.4 วินาที  ตามจำนวนครั้งของรหัสปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความถี่ที่เท่ากัน  เช่น รหัสปัญหา  7  หลอดไฟกะพริบสั้น  7  ครั้ง  ดังภาพที่  20

รหัสเดี่ยวของระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI มีดังนี้
1.1 รหัส  1  หลอดไฟกะพริบสั่น  1  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี (MAP Sensor) ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เครื่องยนต์ทำงานปกติแต่ส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศไม่ได้สัดส่วนอาจจะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังหรือสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงการแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี 
1.2 รหัส  7  หลอดไฟกะพริบสั่น  7  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่องหรืออุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (EOT Sensor  / ECT Sensor)  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากที่อุณหภูมิต่ำการแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่องหรือตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
1.3 รหัส  8  หลอดไฟกะพริบสั่น  8  ครั้ง แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง (TP Sensor)  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ  เครื่องยนต์มีการตอบสนองไม่ดีขณะบิดคันเร่ง เช่น บิดคันเร่งแล้วเครื่องยนต์เดินไม่เรียบเกิดการสะดุด  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง
1.4  รหัส  9  หลอดไฟกะพริบสั่น  9  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศในท่อไอดี (IAT Sensor) ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ เครื่องยนต์ทำงานปกติแต่ส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศไม่ได้สัดส่วนอาจจะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังหรือสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงการแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศในท่อไอดี 
1.5  รหัส 8-9-1  หลอดไฟกะพริบสั่น 8 ครั้งต่อด้วยกะพริบสั่นอีก 9 ครั้ง และกะพริบสั่นอีก 1 ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ชุดเรือนลิ้นเร่งผิดปกติ ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ  เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด   การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับที่เรือนลิ้นเร่ง

2. รหัสคู่  เป็นการแสดงรหัสข้อขัดข้องของระบบ PGM-FI  แบบ  2 สัญญาณ ซึ่งหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบยาวถึงสั่น  การกะพริบยาวของหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบสว่างขึ้น 1.3 วินาที และหลอดไฟจะดับลง  0.5 วินาที  การกะพริบสั้นของหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบสว่างขึ้น  0.3 วินาที และหลอดไฟจะดับลง 0.5 วินาที  เช่นรหัส  12หลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์กะพริบยาว  1  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  2  ครั้ง  ดังภาพที่  21

รหัสคู่ของระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI มีดังนี้  
2.1  รหัส  11  หลอดไฟกะพริบยาว 1 ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น 1 ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับความเร็วของรถทำงานบกพร่อง
2.2  รหัส  12  หลอดไฟกะพริบยาว 1 ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น 2 ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ  เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3  รหัส 21 หลอดไฟกะพริบยาว  2  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  1  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับออกซิเจน  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น คือเครื่องยนต์ทำงานปกติแต่อาจทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและเกิดมลพิษในไอเสียมากกว่าปกติ  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าตัวตรวจจับออกซิเจน
2.4   รหัส  29  หลอดไฟกะพริบยาว  2  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  9  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่วาล์วควบคุมอากาศรอบเดินเบา  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือเครื่องยนต์ทำงานติดขัดสตาร์ทติดยากและเดินเบาไม่เรียบ  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าวาล์วควบคุมอากาศรอบเดินเบา
2.5  รหัส 33  หลอดไฟกะพริบยาว  3  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  3  ครั้งแสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่  EP-ROM ในกล่องควบคุม (ECM)  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือเครื่องยนต์ทำงานได้ตามปกติแต่ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นได้  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้ากล่องควบคุม (ECM)
2.6  รหัส 54  หลอดไฟกะพริบยาว  5  ครั้ง  ตามด้วยกะพริบสั้น  4  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับการเอียงของรถจักรยานยนต์  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ เครื่องยนต์ทำงานปกติแต่เมือเกิดการล้มหรือเอียง  55  องศา  เครื่องยนต์จะไม่ดับและอาจเกิดอันตรายได้  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าตัวตรวจจับการเอียงของรถจักรยานยนต์