ยินดีต้อนรับสู่บล็อก ครูพินิต แก้วพระ แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI

ระบบฉีดเชื้อเพลิง PGM-FI

      เป็นระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่ในรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ Honda เป็นระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่เข้ามาแทนระบบบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ โดยเริ่มต้นจากระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์PGM-FI Version 1 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ Version 2 Version 3 และ Version 4 

ส่วนประกอบระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI ประกอบด้วย

1. ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel Pump)
2. หัวฉีด(Injector)
3. กล่องควบคุม(ECM)
4. เรือนลิ้นเร่ง
5. หลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์(FI-Indicator)
6. ตัวตรวจจับ (Sensor) ต่าง ๆ ดังนี้
    6.1 ตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี(MAT Sensor)
    6.2 ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศ(IAT Sensor)
    6.3 ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง(TP Sensor)
    6.4 ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง(EOT Sensor)หรืออุณหภูมิน้ำหล่อเย็น(ECT Sensor)
    6.5 ตัวตรวจจับความเร็วรอบเครื่องยนต์(CKP Sensor)
    6.6 ตัวตรวจจับออกซิเจน(O2 Sensor)
    6.7 ตัวตรวจจับการเอียงของรถ
    6.8 ตัวตรวจจับความเร็วของรถ (VS Sensor)




การอ่านรหัสปัญหาระบบ PGM-FI

การอ่านรหัสปัญหาข้อขัดข้องของระบบ PGM-FI
การอ่านรหัสปัญหาข้อขัดข้องระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์  PGM-FI  แบ่งออกเป็น 2 รหัส คือ
1.รหัสเดี่ยว  เป็นการแสดงรหัสข้อขัดข้องของระบบ PGM-FI  แบบ  1 สัญญาณ ซึ่งหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบสั่นโดยหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะสว่างขึ้น  0.3 วินาที และหลอดไฟจะดับลง  0.4 วินาที  ตามจำนวนครั้งของรหัสปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความถี่ที่เท่ากัน  เช่น รหัสปัญหา  7  หลอดไฟกะพริบสั้น  7  ครั้ง  ดังภาพที่  20

รหัสเดี่ยวของระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI มีดังนี้
1.1 รหัส  1  หลอดไฟกะพริบสั่น  1  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี (MAP Sensor) ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เครื่องยนต์ทำงานปกติแต่ส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศไม่ได้สัดส่วนอาจจะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังหรือสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงการแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับความดันในท่อไอดี 
1.2 รหัส  7  หลอดไฟกะพริบสั่น  7  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่องหรืออุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (EOT Sensor  / ECT Sensor)  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากที่อุณหภูมิต่ำการแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่องหรือตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
1.3 รหัส  8  หลอดไฟกะพริบสั่น  8  ครั้ง แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง (TP Sensor)  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ  เครื่องยนต์มีการตอบสนองไม่ดีขณะบิดคันเร่ง เช่น บิดคันเร่งแล้วเครื่องยนต์เดินไม่เรียบเกิดการสะดุด  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง
1.4  รหัส  9  หลอดไฟกะพริบสั่น  9  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศในท่อไอดี (IAT Sensor) ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ เครื่องยนต์ทำงานปกติแต่ส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศไม่ได้สัดส่วนอาจจะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังหรือสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงการแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศในท่อไอดี 
1.5  รหัส 8-9-1  หลอดไฟกะพริบสั่น 8 ครั้งต่อด้วยกะพริบสั่นอีก 9 ครั้ง และกะพริบสั่นอีก 1 ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ชุดเรือนลิ้นเร่งผิดปกติ ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ  เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด   การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรระบบไฟฟ้าตัวตรวจจับที่เรือนลิ้นเร่ง

2. รหัสคู่  เป็นการแสดงรหัสข้อขัดข้องของระบบ PGM-FI  แบบ  2 สัญญาณ ซึ่งหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบยาวถึงสั่น  การกะพริบยาวของหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบสว่างขึ้น 1.3 วินาที และหลอดไฟจะดับลง  0.5 วินาที  การกะพริบสั้นของหลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์จะกะพริบสว่างขึ้น  0.3 วินาที และหลอดไฟจะดับลง 0.5 วินาที  เช่นรหัส  12หลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์กะพริบยาว  1  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  2  ครั้ง  ดังภาพที่  21

รหัสคู่ของระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ PGM-FI มีดังนี้  
2.1  รหัส  11  หลอดไฟกะพริบยาว 1 ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น 1 ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับความเร็วของรถทำงานบกพร่อง
2.2  รหัส  12  หลอดไฟกะพริบยาว 1 ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น 2 ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ  เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3  รหัส 21 หลอดไฟกะพริบยาว  2  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  1  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับออกซิเจน  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น คือเครื่องยนต์ทำงานปกติแต่อาจทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและเกิดมลพิษในไอเสียมากกว่าปกติ  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าตัวตรวจจับออกซิเจน
2.4   รหัส  29  หลอดไฟกะพริบยาว  2  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  9  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่วาล์วควบคุมอากาศรอบเดินเบา  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือเครื่องยนต์ทำงานติดขัดสตาร์ทติดยากและเดินเบาไม่เรียบ  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าวาล์วควบคุมอากาศรอบเดินเบา
2.5  รหัส 33  หลอดไฟกะพริบยาว  3  ครั้ง ตามด้วยกะพริบสั้น  3  ครั้งแสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่  EP-ROM ในกล่องควบคุม (ECM)  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือเครื่องยนต์ทำงานได้ตามปกติแต่ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นได้  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้ากล่องควบคุม (ECM)
2.6  รหัส 54  หลอดไฟกะพริบยาว  5  ครั้ง  ตามด้วยกะพริบสั้น  4  ครั้ง  แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวตรวจจับการเอียงของรถจักรยานยนต์  ลักษณะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้น  คือ เครื่องยนต์ทำงานปกติแต่เมือเกิดการล้มหรือเอียง  55  องศา  เครื่องยนต์จะไม่ดับและอาจเกิดอันตรายได้  การแก้ไขปัญหาให้ตรวจซ่อมวงจรไฟฟ้าตัวตรวจจับการเอียงของรถจักรยานยนต์